22 พฤศจิกายน 2552

วันเบาหวานโลก 14 พย.2552

โรงพยาบาลสกลนคร ได้ดำเนินการจัดงานวันเบาหวานโลก ปี 2552 ในวันที่ 13 พย.2552 คำขวัญ "เบาหวานควบคุมได้ เพียงรู้และเข้าใจ"


มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนัก ให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีกิจกรรมดังนี้ รถแห่ประชาสัมพันธ์ คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ประเมิน BMI เจาะเลือด ให้คำแนะนำโภชนาการ ถ่ายภาพจอประสาทตา รับของแจกมากมายจากบริษัทโนวาร์ติส ,Allergan(ประเทศไทย)และบริษัทที อาร์ บี เชอร์เม็ดดิก้า ขอบคุณมากนะคะ ที่มาช่วยจัดนิทรรศการเพื่อประชาชน ผู้ป่วยเบาหวาน ชาวสกลนคร












18 มกราคม 2552

การทำแผลเท้าเบาหวานด้วยวิธีสูญญากาศ (VAC Dressing)

การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการพัฒนาการดูแลแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน

กลุ่มการพยาบาลร่วมกับ PCTศัลยกรรม โรงพยาบาลสกลนคร ได้พัฒนาคุณภาพการทำแผลผู้ป่วยเบาหวาน โดยการนำนวัตกรรมการทำแผลด้วยระบบสูญญากาศมาใช้เพื่อช่วยกระตุ้นการหายของแผลให้เร็วขึ้น เริ่มต้นได้นำมาพัฒนาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง ได้แก่ แผลกดทับที่มีขนาดใหญ่ ๆ และผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลประเภท Infection Diabetic Ulcer with amputation and non amputation

โดยได้รับความรู้และได้ฝึกทักษะการทำแผลด้วยแรงดันลบ(Vaccuum Assisted Clousure Dressing : VAC) จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ Advanced Chronic Wound Care 6 th จัดโดยคณะพยาบาลศาสตร์ รพ.รามาธิบดี อาจารย์พยาบาลที่สอนท่านเก่งมาก ๆ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ รศ.ดร.นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ และทีมงานพี่ๆพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลบาดแผล และทีม อาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพร และทีมงาน ภายหลังการพัฒนา ทดลองนำร่อง จนได้ผลลัพธ์เป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วย แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย








จึงนำมาขยายผลโดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพบุคลากรพยาบาล ในหอผู้ป่วยของแผนกศัลยกรรม เน้นการทำแผลที่มีความซับซ้อน ฝึกตั้งแต่การประเมินบาดแผล ทักษะการล้างแผลด้วยแรงดัน การทำ VAC จนกระทั่งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ การทำแผล ตอนนี้น้อง ๆก้าวไปไกลแล้ว เปิดบริการรับการปรึกษาเรื่องการทำแผลจากแผนกอื่นได้แล้วนะคะ








และได้รับรางวัลถึง 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานวิชาการและนวัตกรรมทางการพยาบาล ปี 2551 และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานในเวทีการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง Professional Practice : Chronic Disease เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 จัดโดยสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

และผลงานวิชาการดีเด่น รองชนะเลิศอันดับ 1 จากเวทีการประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่สกลนคร

โครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน "คนต้นแบบ"

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เบาหวานเป็นภาวะผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และเป็นปัจจัยของการเกิดอาการโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง จอประสาทตาเสื่อม ภาวะไตเสื่อมหรือไตวาย โรคหัวใจ มะเร็ง และภาวะอัมพาต ซึ่งภัยเงียบที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมของประเทศ สถานการณ์โรคเบาหวานอัตราชุกของผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดสกลนคร ปี 2549 ร้อยละ 2.6 ในปี 2550 - 2551 จำนวนผู้เป็นเบาหวาน CUP เมือง มีจำนวน 3,206 และ 3416 ราย ผู้ป่วยนอกเข้ารับการบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสกลนครเฉลี่ยวันละ 200 ราย และผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยต่อเดือน 120 และ 130 ราย ตามลำดับ แต่กลับพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 70-140 mg% เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.67 และ 57.93 จากข้อมูลดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ดีที่เพิ่มขึ้นนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการดูแลตนเองที่ดีให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ครอบครัวและชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับภาวะโรคเรื้อรังได้อย่างมีผาสุก ตลอดจนยกระดับความพึงพอใจผู้ป่วย ดังนั้นคณะกรรมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง CUP เมืองสกลนคร จึงได้ดำเนินการโครงการค่ายเสริมสร้างการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยที่สามารถรักษาระดับน้ำตาลที่ดีแล้ว เกิดความภาคภูมิใจ สามารถถ่ายทอดทักษะการดูแตนเองแก่ผู้เป็นเบาหวานคนอื่น เกิดการยอมรับ ยกย่องเป็นคนต้นแบบเบาหวานต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างทักษะการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวาน
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยในระดับชุมชน
3. เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนต้นแบบเบาหวาน
4
. เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมผู้ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ฐานเรียนรู้เรื่องพลังงาน มานับพลังงานอาหารแลกเปลี่ยน นับยังไงหนอ ??




ฐานดูแลผู้นำทาง สอนและฝึกวิธีตรวจเท้าด้วย อุปกรณ์พิเศษ Monofilament





ฐานมดเจ็บใจ




ฐานสร้างความรู้ ล้วงคำถามไหคำ




จบหลักสูตรถ่ายภาพร่วมกัน ไชโย
คนเบาหวาน ต้นแบบ CUPเมืองคลอดแล้ว

ตัวชี้วัดงานเบาหวาน

ระดับ PCU
1.อัตราการคัดกรองประชาชนอายุ ≥ 35 ปี ขึ้นไป > 80 %
2.อัตราป่วย <4.6>
คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก
1.อัตราการส่งผู้ป่วยออกไปรับการรักษาต่อเนื่องที่สถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจ>50 %
2.ร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์
2.1 ระดับดี หมายถึง ระดับน้ำตาล 70–140 mg% > 40%
2.2 ระดับพอใช้ หมายถึง ระดับน้ำตาล 141–180 mg% <40%>

2.3 ต้องปรับปรุง หมายถึง ระดับน้ำตาล ≥181 mg% <20%>
3.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน <30%>
งาน ER
1. ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันได้รับการช่วยเหลือภายใน 4 นาที 100%

งานผู้ป่วยใน
1.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันHypoglycemia (DTX <>

2.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน Hyperglycemic coma (DTX ≥ 600 mg%)ของผู้ป่วยเบาหวานขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล <30%>
3.อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน Re-Admit) <2%

การพัฒนาระบบงานเบาหวาน โรงพยาบาลสกลนคร

การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบครบวงจร
โรงพยาบาลสกลนคร ปีงบประมาณ 2551

1. บริบท
โรงพยาบาลสกลนคร ขนาด 564 เตียง ระดับตติยภูมิ 3.1 สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 11 (นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร)
เขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย โรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง สถานีอนามัย 24 แห่ง PCU 3 แห่ง รวมเครือข่ายทั้งหมด 27 แห่ง ครอบคลุม 16 ตำบล 168 หมู่บ้าน เทศบาล 2 แห่งอบต. 15 แห่ง และประชากรกลางปี 2551 จำนวน 189,288 คน โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบ 1 ใน 5 อันดับโรคแรกของจังหวัดสกลนคร เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับจังหวัด และจากสถิติโรงพยาบาลสกลนคร พบอัตราชุก ปี2549 – 2551 เท่ากับ 1.86, 1.84 และ 1.80 ผู้ป่วยเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 3,293 , 3416 และ 3,614 คน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 2,275 , 1,447 และ 1,553 คนตามลำดับ (เวชสถิติโรงพยาบาลสกลนคร)

ดังนั้นการการดูแลผู้เป็นเบาหวาน ต้องดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติคุณภาพ ทั้งในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มพิการหรือด้อยโอกาส ซึ่งต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ที่ดูแลผู้ป่วยทุกจุดบริการรวมถึงการการดูแลเชิงรุกในชุมชน แบบ Disease Management เพื่อผลที่ดีขึ้นในภาพรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การลดผู้ป่วยรายใหม่ และการลดภาวะแทรกซ้อนในรายที่เป็นโรค

2. แนวคิด
2.1 ลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่
2.2 เพิ่มจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ดูแลตนเองได้ดีและสามารถดูแลคนอื่นต่อได้
2.3 เพิ่มคุณภาพในการให้บริการชุมชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน
2.4 เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยที่สถานบริการ

3. ประเด็นสำคัญ/ความเสี่ยงสำคัญ
3.1การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนและการติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่องภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล (PCU)
3.2การรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะหมดสติจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากหรือต่ำ (ER)
3.3 การดูแลรักษาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ได้ตามเป้าหมาย และชะลอภาวะแทรกซ้อน; DM Foot ,ไตวาย,จอประสาทตาเสื่อม,DKA (ER,OPD,PCU,Com)
3.4 การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (IPD)
3.5 การให้ความรู้ผู้ป่วยผู้ดูแลเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง (PCU,OPD, IPD)

4. กระบวนการพัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพ
ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ของโรงพยาบาลสกลนคร แบบ Disease Management มี Disease Manager และ Case Manager ระดับหน่วยงาน ทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลจิตเวช นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัดและช่างกายอุปกรณ์ ร่วมกันดูแลผู้ป่วย โดยมีการประชุม วางแผนการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานในทุกจุดบริการรวมถึงชุมชน โดยใช้เครื่องมือคุณภาพต่าง ๆ เช่น Discharge Planning ที่เชื่อมโยงสู่ชุมชน , การจัดทำ Guideline , CPG , Specific Clinical Risk , นวัตกรรม และใช้ Evidence Based ต่าง ๆ สำหรับการดูแลผู้ป่วย โดยมีการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ในระดับต่างๆ ทั้งการจัดอบรมในโรงพยาบาล และนอกโรงพยาบาล

การดูแลในชุมชน (PCU)
1. ส่งเสริมสุขภาพในคนปกติที่ไม่เป็นโรค โดยส่งเสริมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย เช่น การวิ่ง แอร์โรบิก เดิน ในหมู่บ้าน เน้นการสร้างสุขภาพ ซึ่งประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการออกกำลังกาย ให้ความรู้เรื่องอาหาร การรณรงค์งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น มี อสม. รับผิดชอบดูแลโซน ซึ่งเป็นเสมือนทีมสุขภาพประจำหมู่บ้าน คอยให้ความช่วยเหลือ ให้การปรึกษา ดูแลและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง และร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการจัดกิจกรรม ส่งเสริม ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเป็นเบาหวาน
2. คัดกรองประชากรที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และกลุ่มเสี่ยง ผลตรวจระดับน้ำตาลได้น้อยกว่า 100 mg% ให้ความรู้ทั่วไปและนัดเจาะเลือดซ้ำอีก 1 ปี กรณีที่ระดับน้ำตาล ≥100-125 mg%ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นัดเจาะเลือดซ้ำอีก 1 เดือน และติดตามทุก 6 เดือน กรณีที่ระดับน้ำตาล≥126 mg% ส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อให้การรักษาและนัด ติดตามทุก 1 เดือนที่ PCU และ ส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุก 6 เดือน หรือพบแพทย์เมื่อมีอาการก่อนนัด จากนี้ยังมีการลดขั้นตอนในการมาพบแพทย์ โดยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนมาพบเจ้าหน้าที่ที่ PCU
3. ติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้เป็นเบาหวาน สำรวจ ปัจจัย สภาพแวดล้อมที่บ้าน เพื่อได้ทราบถึงวิถีชีวิต และบริบทของผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย ตลอดทั้งตรวจหาระดับน้ำตาล ภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล เพื่อประเมินผลการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน และผู้ป่วยที่ขาดนัด พร้อมทั้งส่งข้อมูลกลับมายังโรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยเบาหวานใน OPD/ER
ระบบบริการแผนกผู้ป่วยนอก
เป้าหมาย : ลดความแออัดในโรงพยาบาล
ผลลัพธ์ระยะสั้น:ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ โดยการควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์
ผลลัพธ์ระยะยาว: ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า
จากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนทั่วไปและประชาชน กลุ่มเสี่ยง ตามแบบคัดกรอง (Verbal Screening) ประชาชนกลุ่มที่มีอายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า ผลการคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 90 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความแออัดในการมารับบริการของผู้ป่วยเบาหวานที่แผนกผู้ป่วยนอก ทำให้เกิดปัญหาการให้บริการล่าช้าและด้อยประสิทธิภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้มีนโยบายให้สถานบริการทุกแห่งดำเนินการเร่งรัดให้เกิดกิจกรรมลดความแออัด โดยการประเมินและคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถดูแลตนเองได้ดีตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว สามารถส่งต่อผู้ป่วยเบาหวานออกไปรับการรักษาต่อเนื่องที่ สถานบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ ดังรายละเอียดตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
1. ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 180 mg % ติดต่อกัน 2 ครั้ง
2. ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 1 ครั้ง
3. ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

OPD ให้การดูแลผู้เป็นเบาหวาน ในพื้นที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยในเครือข่าย และที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นๆ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และส่งตรวจ FBS ทุกครั้งที่มารับการตรวจ และในแต่ละรายจะมีการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนประจำปี คือ complete Lab, ตรวจตา และHbA1C รายละ 1ครั้ง/ปี หากผู้เป็นเบาหวานรายใดที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่า 300 mg% หรือต่ำกว่า 70 mg% หรือมีอาการ ผิดปกติ เช่น หน้ามืด รู้สึกหวิวๆคล้ายจะเป็นลม ถือเป็นกรณีเร่งด่วนจะต้องส่งพบแพทย์ งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ขณะรอแพทย์ตรวจ มีการให้คำปรึกษาเฉพาะราย ให้ความรู้ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มมีการจัดตารางให้ความรู้จากจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และโภชนากร จะมีการสาธิต เรื่องอาหารเฉพาะโรค พร้อมทั้งคำนวณจำนวนแคลอรี่ในอาหารแต่ละชนิด โดยการนำโมเดลอาหารแสดง กรณีที่พบปัญหาเรื่องเท้าผิดรูป ส่งปรึกษาพยาบาล APN ศัลยศาสตร์ และประสานแผนกกายอุปกรณ์ เพื่อปรับแผ่นรองรองเท้าที่เหมาะสม การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเครียด มีประเมินและวิเคราะห์ความเครียด ตามแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต โดยทีมพยาบาลจิตเวช ปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่ได้แก่ การขาดผู้ดูแล และความรู้สึกท้อแท้ในโรคที่เป็นอยู่ ในรายที่มีความเครียดเกินเกณฑ์ จะมีการส่งปรึกษาจิตแพทย์ให้ความช่วยเหลือเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม